|
ลานขอพรฟ้า (เทียนฐาน) |
|
|
|
พิธีกรรมสำคัญในการสร้างหัวใจฟ้า (ลานขอพร) |
|
นอกจากต้องมีชัยภูมิครบถ้วนแล้วการที่จะทำให้สถานที่นี้เกิดความศักดิ์สิทธิ์จำเป็นต้องมีพิธีกรรมที่สำคัญที่สุด 3 พิธี ดังนี้ |
|
|
|
พิธีเริ่มต้นกระทบดินครั้งแรก
- พิธีดึงพลังดินขึ้นท้องฟ้า
- พิธีดึงพลังท้องฟ้าลงสู่ดิน
- พิธีเปิดประตูสวรรค์
|
|
|
|
จาก 3 พิธีกรรมที่ระบุข้างต้น พิธีกรรมที่สำคัญมากๆ คือ
- พิธีดึงพลังท้องฟ้าลงสู่ดิน
|
|
- การดึงพลังท้องฟ้าลงสู่ดิน คือ สู่ หัวใจฟ้า เพื่อให้ หัวใจฟ้า เกิดสภาพ หยินหยาง โดยเกิดอุณภูมิหยินหยางไม่เท่ากัน ประกอบด้วย ร้อนมาก และร้อนน้อย (หมายถึงเย็น) หากเมื่อประกอบพิธีกรรมดังกล่าวแล้วอุณภูมิปกติเหมือนเดิม ไม่เกิดสภาพ ร้อนมากร้อนน้อย ถือว่าพิธีกรรมนี้ล้มเหลว
|
|
|
|
|
|
- ขณะที่ประกอบพิธีนี้ลมจะต้องพัดเคลื่อนไหวเร็วประดุจพายุ เมฆบนท้องฟ้าหมุนและหยุด เป็นลักษณะของเมฆขาวและเมฆดำมาชนกันเป็นหยินหยาง ต้องเกิดปรากฏการณ์เช่นนี้จึงจะถือว่าพิธีกรรมสำเร็จ และหากท้องฟ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง พิธีกรรมนี้ถือว่าล้มเหลว
|
|
|
|
หากพิธีกรรมทั้งสองนี้ไม่สำเร็จจะต้องรออีก 12 ปี จึงสามารถประกอบพิธีกรรมใหม่ได้อีกครั้งหนึ่ง |
|
|
|
องค์ประกอบของชัยภูมิที่สำคัญของเทียนฐาน |
|
พิธีกรรมหัวใจฟ้าจะต้องเริ่มต้นที่ ปีเถาะ เป็นการกระทบดินครั้งแรกและภายในปีเดียวกันจะประกอบพิธีดึงพลังดินขึ้นท้องฟ้าและพิธีดึงพลังท้องฟ้าลงมาสู่ดิน สาเหตุที่ต้องเริ่มประกอบพิธีกรรมในปีเถาะเนื่องจาก :-
- ปีเถาะ จะมีฤกษ์ 4 ยิ่งใหญ่ 4 เที่ยงตรง และ 4 เสน่ห์
|
|
|
|
พิธีเปิดประตูสวรรค์จะต้องทำใน ปีมะโรง เท่านั้นซึ่งเป็นฤกษ์ที่กำหนดในตำราว่าสามารถประกอบพิธี หัวใจฟ้า ได้ สาเหตุที่ต้องประกอบพิธีกรรมในปีมะโรงเนื่องจาก :-
- ปีมะโรง มีฤกษ์ 4 ขุมคลัง คือ 4 ขุมทรัพย์
|
|
|
|
พิธีกรรมหัวใจฟ้าที่สมบูรณ์
|
|
พิธีกรรมหัวใจฟ้าที่สมบูรณ์จะต้องประกอบด้วยการปฏิบัติตามหลักวิชาและคาถาเฉพาะของการเปิดหัวใจฟ้า ซึ่งทุกขั้นตอนจะต้องปฏิบัติตามตำราของการสร้างอย่างเคร่งครัด และที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน คือ การกำหนดหัวใจฟ้าต้องตรงตามตำแหน่งของหัวใจ หากตำแหน่งผิด ก็จะไม่เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวข้างต้น |
|
|
|
ประวัติการสร้างเทียนฐาน |
|
ตามกฏมณเทียรบาลของจีน ปรมาจารย์ผู้รวบรวมวิชาฮวงจุ้ยครบสูตร จะถ่ายทอดตำราการสร้างเทียนฐานโดยละเอียดให้กับ ก๊กซือ หรือผู้เรียนรู้วิชาฮวงจุ้ยสูงสุดโดยเฉพาะเท่านั้น เพื่อที่จะไปทำหน้าที่เป็นก๊กซือ นอกจากนี้ตำรายังระบุว่าผู้ที่ไม่ใช่ ก๊กซือ ก็จะไม่รู้วิชานี้
|
|
|
|
เทียนฐานแห่งแรกได้สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง (ซึ่งปกครองจีนระหว่างระหว่างปี ค.ศ. 1368-1644) มีการบูรณะซ่อมแซมเพื่อรักษาสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าไว้ และปัจจุบันจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของกรุงปักกิ่ง |
|
|
|
เทียนฐานแห่งที่สองตั้งอยู่ที่มูลนิธิสุสานฮูลิน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ได้เริ่มก่อสร้างในปี ค.ศ. 2011 โดยท่านอาจารย์ เกรียงไกร บูญธกานนท์ ผู้ก่อตั้งและประธานมูลนิธิสุสานฮูลิน |
|
|
|
หน้า: 1 | 2 | 3 |